จัดตั้งขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บทางกระดูกสันหลังอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่ แรกรับเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล ได้รับการผ่าตัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย นัดตรวจและติดตามผลระยะยาว เป็นศูนย์ที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานสากล เพื่อรักษาดูแลผู้บาดเจ็บทางกระดูกสันหลังโดยเฉพาะแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์
บุคลากร
ประกอบด้วย แพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ พยาบาลชำนาญการศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาการปรึกษา นักสังคมสังเคราะห์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ระบบ
ระบบบุคลากรและการรักษาแบบสหสาขา
ระบบการรักษาแบบครบวงจร
ระบบการใช้เทคโนโลยีระดับสูงรวมในการฟื้นฟู
ระบบการวางแผนจำหน่ายที่ชัดเจน
ระบบการติดตามผลต่อเนื่อง
สถานที่ตั้ง
อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา
ศูนย์ผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลัง ชั้น 12 ใต้
แนวทางการดำเนินงาน
ศูนย์ผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังศิริราชให้การรักษาผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังตั้งแต่ระยะเฉียบพลันโดยทีมรักษา ประกอบด้วยแพทย์ออร์โธปิดิคส์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด นักจิตวิทยาการปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยมีการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังแบบครบวงจรตั้งแต่ระยะแรก ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดจะได้รับการดูแลใกล้ชิดในห้องผู้ป่วยวิกฤต และเมื่อพ้นระยะวิกฤตได้รับการดูแลต่อเนื่องจากแพทย์และบุคคลากรสหสาขา เช่น การทำกายภาพบำบัด การฝึกการพึ่งพาตนเอง มีหน่วยฟื้นฟูโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินภาวะจิตใจและให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ต่อสู้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการพิการ ญาติผู้ป่วยได้รับความรู้ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือปัญหาด้านต่างๆโดยทีมสหสาขา และเตรียมความพร้อมก่อนคืนสู่สังคม
One Stop Service
ให้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางกระดูกสันหลัง และสูญเสียการทำงานของปราสาทไขสันหลังอย่างมีระบบในหน่วยเดียว เริ่มตั้งแต่ การแรกรับผู้ป่วย การผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัด การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแก่ผู้ป่วยและญาติ การฝึกการช่วยเหลือตนเอง การดูแลระบบการหายใจ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน การฝึกผู้ป่วยและญาติในการดูแล การเตรียมตัว ผู้ป่วยและญาติก่อนการจำหน่าย การฝึกอาชีพ การดูแลปัญหาทางจิตใจ การนัดผู้ป่วยมารับการตรวจและติดตามผลระยะยาว
คลินิกติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง
ระบบในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ให้กลับมาตรวจต่อเนื่อง
เป็นสถานที่ให้การฝึกอบรมบุคลากรทั้งในและต่างประเทศได้แก่
แพทย์เฉพาะทางรักษาผู้บาดเจ็บทางกระดูกสันหลัง
แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
แพทย์ประจำบ้านอื่นๆ
บุคลากรสาธารณสุข
เป็นสถานฝึกอบรมและสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยดูแล ผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลัง แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ต้องการจัดตั้ง
หน่วยงานพิเศษ
หน่วยฝึกการพึ่งพาตนเอง (Independent Living Unit)
เพื่อให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ผู้ป่วยและญาติอาจมีการทดลองใช้ชีวิตร่วมกันก่อนกลับบ้านจริง พื้นที่หน่วยงานจะจำลองบ้านที่มีระบบเอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้พิการ มีตัวอย่างการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตตามเศรษฐานะโดยมีอุปสรรคน้อยที่สุด ผู้ป่วยจะได้รับการฝึก ประเมินเป็นระยะ ได้เห็นตัวอย่าง แนวทางในการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมจากทีม
หน่วยห้องฝึกผู้ป่วยอัมพาตระดับสูงด้านเทคโนโลยีพิเศษ
(Environment Control System)
ในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บระดับคอที่ต้องสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาทั้งหมด ผู้ป่วยเหล่านี้ปกติจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ต้องนอนที่เตียงตลอดเวลา ห้องควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง จึงถูกพัฒนาออกแบบเพื่อให้ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว สามารถช่วยเหลือตนเองได้เพิ่มขึ้น โดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ห้องนี้จะเป็นตัวอย่างในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ป่วยทีมีความพิการมาก โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเป็นองค์ประกอบ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้
หน่วยการเตรียมคืนสู่สังคม
(Free Bird Zone)
เป็นหน่วยงานเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนกลับสู่สังคม ลดความอึดอัด ลดความเป็นภาระ เพิ่มความเข้มแข็งจิตใจ การฝึกอาชีพ เป็นหน่วยสันทนาการให้แก่ผู้ป่วย การฝึกสมาธิ การฝึกกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น
นวัตกรรมที่ได้รับสิทธิบัตร
รถเข็นนั่งปรับยืนได้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างสามารถ ปรับขึ้นอยู่ในท่ายืน และกลับลงสู่ท่านั่ง ได้ด้วยตัวผู้ป่วยเอง จึงช่วยลดปัญหา แทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากการนั่งรถเข็น เป็นเวลานาน ๆ รวมทั้งเพิ่มขีด ความสามารถใน การดำเนินกิจวัตร ประจำวันในท่ายืน ส่งเสริมให้ผู้ป่วย มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถผลิตรถเข็นปรับยืน โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง ในประเทศไทยจึงมีโอกาสใช้รถเข็นนั่งปรับยืนที่มีราคาถูกกว่า แต่คุณภาพสูงไม่แพ้ของนำเข้าจากต่างประเทศ